เชื่อว่า วาทกรรม
“ปฏิรูปการเมือง” นี่เป็นวาทกรรมที่หลายๆ คนในประเทศนี้ได้ยินจนหลอนหู
มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ด้วยหลักการง่ายๆ ว่า
“เอาคนดีเข้ามาทำงาน มีกลไกจัดการกับคนไม่ดี” แล้ววันนี้ปฏิรูปการเมืองไปถึ
งไหน จะว่าลอยตุ๊บป่องๆ แบบจับต้องไม่ได้ก็คงจะดูใจร้
ายไปนิดนึง เอาเป็นว่า
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 นี่ก็มีปฏิรูปเช่น เร่งคดี ป.ป.ช.ให้เร็วขึ้น เพิ่มประมวลจริยธรรมของผู้
ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมา
ที่ถูกเชือดไก่ให้ลิงดูเป็นรู
ปธรรมแล้วก็คือกรณี
น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ( พปชร.) ที่โดน
กรณีรุกที่ป่าสงวน ตอนนี้ก็หยุดปฏิบัติหน้าที่
ไปเหลือแต่ให้ศาลฎีกาชี้ขาดว่
าผิดจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ แต่ก็มีคนเหน็บแนมว่า
“ผู้มีอิทธิพลตัวจริง” ไม่เห็นจะโดนประมวลจริยธรรมเล่
นงานบ้าง เช่น
กรณีขนแป้งไปออสเตรเลียแล้วติดคุกก็ยังเป็นใหญ่เป็นโต หรือกรณี
“นาฬิกาเพื่อน”ที่ไม่ชี้แจงทั
นทีที่เป็นข่าวเขาก็มองว่า
“มีพิรุธ”
เราต้องปฏิรูปการเมือง เพราะหลักการง่ายๆ
การเมืองคือการเลือกตัวแทนเข้าไปจัดสรรผลประโยชน์สาธารณะให้ทั่วถึง เท่าเทียมทั่วประเทศ ถ้าเกิดมีการทุจริตคอร์รัปชั่
นโกงกิน เอื้อนายทุน ก็จะเกิดภาพของการรวยกระจุก จนกระจาย แจกเงินขายผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ โดยที่ไม่มีการปรับปรุ
งการกระจายทรัพยากรให้เป็นธรรม แล้วก็ไป
romanticize สร้างภาพน่าอภิรมย์ของความพอเพี
ยงให้คนลืมว่า
เราติดอยู่ในกรอบความเหลื่อมล้ำ
ถ้าการเมืองดี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีกว่านี้ เช่น เอาเงินไปพัฒนาอย่างอื่นดีกว่
าจัดซื้อจัดจ้างบ้าๆ บอๆ ที่ไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไร มีแต่ความน่าสงสัยว่า ฮั้วประมูลหรือเปล่าหรือมีกิ
นเงินทอน ตัวอย่างการจัดซื้อจัดจ้างบ้าๆ บอๆ ที่กำลังเป็นข่าวฮอตให้คนทั้
งขำทั้งสมเพชคือ
การจัดซื้อเสาไฟขององค์การบริหารส่วนตำบลหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ถูกขุดแบบถึงรากถึ
งโคนคือที่ราชาเทวะ สมุทรปราการ ที่เหมือนจะซื้อเสามาเกิ
นความจำเป็น
มีการติดตั้งเสาไฟกินรีมั่วไปหมด คนเอารูปมาแฉถึงขนาดว่าเอาไปติ
ดในรกในพง ซึ่งไม่ทราบไปติดทำไม พอถูกแฉก็แก้ผ้าเอาหน้ารอดกั
นโดยการไปถางให้เห็นว่า จริงๆ มันเป็นถนนนะแต่ไม่ได้ลาดยาง
บางรูปก็โชว์ว่าถนนยังเป็นหลุมเป็นบ่อเต็มไปหมดแต่เสากินรีสวยเด่นเป็นสง่ายืนท้าทาย จนไม่รู้ว่าเขาประเมินความจำเป็
นของการพัฒนาพื้นที่กันยังไงถึ
งเร่งซื้อ ตอนนี้สื่อก็กำลังขุดเรื่องมีฮั้
วประมูลหรือไม่ ก็รอดูตอนจบ เพราะ สตง.ขยับตรวจแล้ว
ปัญหาหนึ่งคือการที่เอาศิ
ลปกรรม
เอาความเป็นไทย มาร่วมจัดซื้อจัดจ้างด้วย ราคากลางเสาต้นนึงเท่าไรว่าไป แต่ราคาออกแบบประดับตกแต่งอีก คงอยากให้ลายวัฒนธรรมเต็มเมื
องเหมือนเสาไฟแถวริมแม่น้ำแซน ฝรั่งเศส หรือมีสถาปัตยกรรมเยอะๆ แบบกรุงโรม อิตาลี อะไรเทือกๆ นี้ จริงๆ
ถ้าเอาประโยชน์การใช้งานก็น่าจะลองไปดูเสาไฟพลังงานโซล่าร์เซลล์แบบสิงคโปร์ก็ได้ ให้ดูโมเดิร์นมันก็ไม่ได้ขี้
เหร่อะไร
แถมดูมีความเป็นเมืองเสียอีก
นึกถึงเพลงนักร้องลูกทุ่งเมื่
อก่อนที่ร้องว่า
“จะหมดจะเปลืองก็ให้มันเหลืองเข้าไว้” คือเน้นการออกแบบวัฒนธรรมทาทอง ลายไทย อะไรพวกนี้ที่คิดว่ามันมี
ความเป็นไทยที่สวย ซึ่งมัน
เป็นการใช้เงินแบบผักชีโรยหน้ามากๆ หวังว่ากรณีเสาไฟวิลิศมาหรานี้
จะทำให้เกิดระเบี
ยบการทบทวนการใช้เงินขององค์
กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ สตง.แก้ระเบียบหรือตรวจสอบให้
เข้มเข้า ว่า
ถ้ามันแพงแปลกๆ ก็ต้องเชือดให้เร็วๆ ไม่ใช่กระบวนการเอาผิดยาวนาน
ที่ยกตัวอย่างมานี่แค่เบื้องต้
นว่า การจัดซื้อจัดจ้างแบบบ้าๆ บอๆ นี่แหละทำให้
งบประมาณถูกผลาญไปในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้งาน การตรวจสอบดำเนินคดีจะเข้มแข็ง รวดเร็วได้ สิ่งที่จะต้องบ่มเพาะสร้างขึ้
นในหมู่ประชาชนคือสร้างความเป็
นพลเมือง ที่ตระหนักว่า
เราคือเจ้าของประเทศ เราคือผู้ให้อำนาจตัวแทนเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากร ถ้าทำไม่เข้าท่า
พลเมืองเองนั่นแหละต้องพุ่งเป้าเข้าไปจัดการมันเลย
ในโลกยุคปัจจุบันเป็นโลกข้อมู
ลข่าวสารที่เชื่อมต่ออะไรต่อมิ
อะไรกันได้เร็ว
แบบลัดนิ้วเดียว อารมณ์ประมาณว่า
โพสต์แฉหน่อยก็มีคนติดตาม แล้วสื่อมวลชนก็ทำหน้าที่
ลงไปตรวจสอบ เมื่อเป็นกระแส องค์กรตรวจสอบก็ถูกจับตาท่าที
และไม่นิ่งนอนใจ ดังนั้น
การปฏิรูปการเมืองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อประชาชนเข้าใจถึงพลังอำนาจของตัวเอง พลังในการให้ข้อมูลข่
าวสารความไม่ชอบธรรมต่อสังคม พร้อมจะรวมตัวกันเคลื่อนไหวเพื่
อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
มันก็เป็นที่น่าชื่นใจอยู่ข้อนึ
งว่า ยังมีพรรคการเมืองอย่าง
พรรคก้าวไกลที่พยายามปลุกความเป็
นพลเมือง ปลุกเรื่องการจับตาตรวจสอบรั
ฐบาล ปลุกเรื่องสิทธิความเท่าเทียม แต่ก็ไม่รู้ว่า จะสร้างจิตสำนึกได้มากน้อยแค่
ไหน หรือทำงานได้ยาวนานแค่ไหน เพราะ
ประชาชนบ้านเราจำนวนมากยังติดอยู่ในระบบอุปถัมภ์ การเลือกตั้งก็ยังติดอยู่
ในระบบแบบ
“บ้านใหญ่” เจ้าของพื้นที่มีฐานคะแนนเสียง มีอิทธิพลให้กลับเข้
ามาทำงานการเมืองแบบเดิมๆ ต่อ
หลายคนตั้งความคาดหวังไว้ว่า
การเมืองจะดีขึ้นต่อเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมี ส.ส.ร.ระดับจังหวัดมายกร่าง ซึ่งก็ไม่แน่อีกแหละว่า ถ้าประชามติผ่าน ให้ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ จะมีร่างทรงนักการเมืองเข้
ามาเป็น ส.ส.ร.มากน้อยแค่ไหน และรัฐธรรมนูญก็เป็นแค่เครื่
องมือหนึ่ง และพอถึงเวลาบังคับใช้ก็อาจถูก
“ศรีธนญชัยทางการเมือง”ตีความเล่
นแร่แปรธาตุไปเรื่อย ดังนั้น
ความเป็นพลเมืองที่พร้อมลุกขึ้นมาต่อต้านความไม่ชอบมาพากลเท่านั้นจะช่วยได้
หันมาดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญเที่
ยวนี้
มีถึง 13 ร่าง ไอ้ที่น่าจะผ่านง่ายที่สุดคื
อ
เรื่องแก้ไขระบบบัตรเลือกตั้งให้มีสองใบ คือเลือกบัญชีรายชื่อใบนึง
เลือก ส.ส.เขตใบนึง ตามหลักการของรัฐธรรมนูญปี 40 คือ ส.ส.เขตนี่ลงไปทำงานพื้นที่
บัญชีรายชื่อนี่ทำงานในเชิงนโยบาย แต่จะน่าสนใจหากจะใช้วิธี
กำหนดจำนวน ส.ส.ที่พึงมี เอาคะแนนบัตรเขตกับคะแนนบั
ตรปาร์ตี้ลิสต์มารวมกันแล้
วหารเอาว่า
ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คนควรมีคะแนนสนับสนุนเท่าไร
สมมุติว่า รวมคะแนนกันแล้วคำนวณได้ว่า บัตรดี 1 แสนใบ ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์คนนึง ส.ส.พรรคไหนได้จำนวน ส.ส.ที่พึงมีจาก ส.ส.เขตเกินไปแล้วก็ไม่ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไหนที่คะแนนปอบปูลาร์โหวตสู
ง แต่ ส.ส.เขตได้น้อย ก็จะได้ปาร์ตี้ลิสต์มากขึ้
นตามปอบปูลาร์โหวต แต่ไม่เกินเพดาน ส.ส.พึงมี
แบบนี้ก็ไม่ทำให้พรรคใหญ่กินรวบทั้งเขตทั้งปาร์ตี้ลิสต์ และพรรคเล็กก็ได้ ส.ส.โดยไม่จำเป็นต้องส่งผู้สมั
ครทั่วประเทศเพื่อเอาคะแนนตกๆ หล่นๆ มาคำนวณ
การเป็นรัฐบาลผสมมันไม่ใช่เรื่องเสียหาย ก็ยังมีการตรวจสอบกั
นเองในพรรครัฐบาล เช่นที่พรรคภูมิใจไทยกับพลั
งประชารัฐเขาก็ออกมาตีกันอยู่
เรื่องรถไฟสายสีส้ม เรื่องการกระจายวัคซีนโควิด แต่ถ้ารวบอำนาจเบ็ดเสร็จพลั
งการตรวจสอบก็จะน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม ย้อนกลับไปที่เดิมคือ การปฏิรูปการเมืองที่เข้มแข็งมั
นต้องสร้างความเป็นพลเมือง การรู้เท่าทันเกมการเมือง การทุจริต และ
เมื่อมีความไม่ชอบมาพากล ประชาชนต้องพร้อมเคลื่อนไหว
การเมืองที่ปฏิรูปคือประชาชนมีส่วนร่วมโดยเฉพาะการตรวจสอบ ไม่ใช่จบแค่คิดว่ากติกาทำให้ได้คนดี และที่สำคัญที่ควรต้องเพิ่มไปอีก คือสิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของพลเมือง ที่ต้องส่งเสริมมากขึ้น.
...........................................
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย "บุหงาตันหยง"